วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การบรรยายให้ความรู้การใช้ถังดับเพลิงเคมีแห้ง ในการดับไฟ


การบรรยายให้ความรู้การใช้ถังดับเพลิงเคมีแห้ง ในการดับไฟ

โดย ณรงค์เดช ผกานนท์

จนท.ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลอุบล

****************************************************************************************

       ภาพเปลวเพลิงที่ลุกท่วมกรุงเทพมหานครอย่างบ้าคลั่งที่ผ่านมา ถือเป็นเหตุการณ์เศร้าสะเทือนใจคนไทยทั่วประเทศ เนื่องจากไฟที่เผาทำลายบ้านเมืองนั้นได้ถูกจุดขึ้นจากน้ำมือคนไทยเอง หลังเพลิงสงบยังคงมีกลิ่นควันจาง ๆ ลอยอยู่ในอากาศเพื่อรำลึกถึงความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลที่ยากจะประเมินค่า พร้อมคำถามที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำอีกหรือไม่...?!?
                     ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้หลายคนเกิดความหวาดกลัวอัคคีภัยทุกประเภทที่  อาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราควรให้ความสำคัญ ซึ่งถังดับเพลิง”  ถือเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่เชื่อว่าเกือบทุกบ้านมีติดตั้งไว้เพื่อป้องกันเพลิงไหม้ แต่มั่นใจหรือไม่ว่าเราดูแลตรวจเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้พร้อมใช้งานแล้ว...
                    สำนักงานเทศบาลตำบลอุบล โดยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จึงได้ให้ความรู้เกี่ยวกับถังดับเพลิงที่เรามีไว้ประจำบ้านเพื่อใช้ระงับอัคคีภัยว่า    โดยพื้นฐานทั่วไปการเกิดอัคคีภัยจริง ๆ แล้วเกิดขึ้นยากเนื่องจากต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างด้วยกันคือ

1.เชื้อเพลิง

2.ความร้อนที่สูงมาก

3.อากาศ (ออกซิเจน)

จึงจะทำให้เกิดไอระเหยของคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นมา  ซึ่งประเภทของเพลิงนั้นเป็นอีกพื้นฐานที่เราต้องทราบก่อนเพื่อนำไปสู่การเลือกใช้ถังดับเพลิง

ประเภทของเพลิง  โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1.ประเภท A คือ เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก ยาง เป็นต้น

2.ประเภท B คือ เพลิงที่เกิดจากก๊าซของเหลวติดไฟ ไข และน้ำมันต่าง ๆ

3.ประเภท C คือ เพลิงที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้า เช่น สายไฟ

4.ประเภท D คือ เพลิงที่เกิดจากสารเคมีติดไฟได้ ส่วนใหญ่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
              ถังดับเพลิงส่วนใหญ่ที่  เรารู้จักนั้นมี 3 สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว โดยเฉพาะสีแดงเราจะพบเห็นบ่อยตามบ้านเรือนประชาชนและสถานที่ราชการต่าง ๆ แต่ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่า  ยังแบ่งเป็น 2 แบบอีกด้วย คือ แบบบรรจุสารเคมี ได้แก่ผงเคมีแห้งที่ผ่านการอบแห้งแล้ว  เวลาพ่นออกมาจะเป็นละอองแป้งสีขาว ๆ ใช้ได้ง่ายครอบคลุมเพลิงทุกประเภท แต่มีข้อเสียคือ จะทำให้เหลือผงสีขาว ๆ เลอะเทอะเปรอะเปื้อน และแบบบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถสังเกตได้คือ จะมีกรวยรูปแตรหรือทรงยาวอยู่ที่สายดับเพลิง เวลาพ่นก๊าซออกมาจะเป็นเหมือนหมอกปกคลุม แต่ไม่ทิ้งคราบสกปรก เหมาะสำหรับใช้ในปั๊มน้ำมัน เพราะไม่ทิ้งสารตกค้าง ทำให้พื้นที่สะอาดแต่สามารถใช้ได้กับเพลิงประเภท B และ C เท่านั้น  สำหรับอันตรายจากก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ ถ้านำไปใช้ในที่อับ อาจทำให้คนที่อยู่ข้างในขาดอากาศหายใจ ส่วนอันตรายของผงเคมีแห้ง ถ้าสัมผัสถูกบริเวณผิวหนัง ดวงตา จะมีอาการระคายเคือง ปวดแสบ ปวดร้อน แต่สามารถล้างน้ำออกได้

- 2 -
                ส่วนถังดับเพลิงสีเหลือง เป็นถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยบีซีฮาลอน คุณสมบัติมีความเย็นจัด เหมาะสำหรับสถานที่ที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร เนื่องจากไม่ทิ้งคราบสกปรก เพราะเป็นสารสะอาด ส่วนถังสีเขียวคุณสมบัติคล้าย ๆ สีเหลือง  แต่ดีกว่าตรงที่น้ำยาเป็นสารระเหยที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวด ล้อม แถมช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แต่ทั้ง2 ชนิดนี้ค่อนข้างแพงจึงไม่เป็นที่นิยม    
                ขนาดของถังดับเพลิง ส่วนใหญ่ที่ใช้กันทั่วไปได้แก่  5, 10 และ 15 ปอนด์ โดยไม่ควรใช้เกิน 10 กก. หรือ 15 ปอนด์ หรือหากต้องการพกพาไว้ในรถจะใช้แค่ 2 กก. หรือ 5 ปอนด์ และในการติดตั้งถังดับเพลิงรวมความสูงของถังจากพื้นไม่ควรสูงเกิน 150 ซม. เพื่อให้หยิบใช้ได้สะดวก ในการเลือกซื้อถังดับเพลิงก็สำคัญจะ ต้องได้มาตรฐาน มอก. 332-2537 ด้วย เนื่องจากจะอ้างอิงเกี่ยวกับระยะเวลาการฉีดใช้

การบำรุงรักษา
               เมื่อมีถังดับเพลิงแล้วไม่ใช่จะปล่อยให้ติดตั้งไว้เฉย ๆ รอให้เกิดเหตุอัคคีภัยแล้วค่อยนำออกมาใช้  การดูแลรักษาภายนอกถังควรตรวจสอบสภาพของสายฉีด ไม่แตก หัก รั่ว และตัวถังไม่ผุกร่อนขึ้นสนิม ส่วนการดูแลรักษาน้ำยาในถังนั้นหมั่นพลิกถังดับเพลิงกลับหัวลง เพื่อตรวจสอบว่าน้ำยาดับเพลิงในถังยังคงสภาพเดิม (เป็นของเหลว) ไม่จับตัวเป็นก้อนแข็ง และเช็คแรงดันของถังดับเพลิงที่มาตรวัดว่า ถ้าเข็มยังอยู่ในแถบสีเขียว แสดงว่ายังใช้งานได้ แต่ถ้าต่ำลงมาที่ขีดแดงควรเติมน้ำยาได้แล้ว ซึ่งถังซื้อใหม่มีอายุการใช้งาน 5-7 ปี หรือขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมในการติดตั้ง แต่ควรเติมน้ำยาทุก 3-5 ปี เนื่องจากคุณภาพจะเสื่อม เพราะในเรื่องของอัคคีภัยเครื่องมือป้องกันต่าง ๆ ต้องใช้งานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หากไม่มีคุณภาพใช้งานไม่ได้ก็ทำให้เกิดเหตุรุนแรงได้
แต่หากบ้านไหนยังไม่มีถังดับเพลิงประจำบ้านวิธีการเบื้องต้นในการดับเพลิงส่วนมากมักเข้าใจผิดคิดว่าเอาน้ำไปสาดเยอะ ๆ แต่การดับเพลิงจริง ๆ คือ การลดอุณหภูมิ ความร้อนให้ต่ำและคลุมไม่ให้อากาศเข้าหรืออาจจะใช้ผ้าชุบน้ำคลุมไฟ เช่น กองไฟเศษขี้เลื่อย เศษกระดาษ หากฉีดน้ำใส่จะทำให้กระจายได้ และการฉีดน้ำที่ถูกวิธี ควรฉีดไปที่ฐานของไฟ
                การระงับอัคคีภัยให้มีประสิทธิภาพลดความเสียหาย จึงควรหมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา และอย่าประมาทเผอเรอเพราะอาจทำให้บ้านที่อยู่อาศัยวอดวายได้ ที่สำคัญต้องมีสติอย่าตกใจจนทำอะไรไม่ถูก เพราะเปลวเพลิงจะลุกลามรุนแรงก็ต่อเมื่อเราปล่อยให้มันไหม้นานเกิน 3-4 นาทีไปแล้ว ดังนั้นเรายังพอมีเวลาที่จะปกป้องชีวิตและทรัพย์สินได้ตามวิธีที่แนะนำไปแล้วข้างต้น.
วิธีการใช้ถังดับเพลิงแบบง่าย ๆ
1. ดึง คือ เมื่อยกถังดับเพลิงออกมาตั้งแล้ว สังเกตบนถังจะมีสลักเหมือนกระเดื่องระเบิดสอดไว้ค่อย ๆ ดึงออก
2. ปลด คือ ปลดสายหัวฉีดออกมาและถือให้มั่นคง
3. กด คือ เล็งหัวฉีดไปที่ฐานของไฟ จากนั้นกดคันบังคับเปิดน้ำยา
4.ส่าย คือ ส่ายสายฉีดไปให้ทั่วฐานของไฟจนไฟดับ (พยายามเข้าใกล้ประมาณ 2-4 เมตร เป็นระยะหวังผลได้ดี)






อัคคีภัย หรือ ไฟไหม้ เกิดได้ทุกที่ ไม่ว่าบ้านพักอาศัย โรงงานและสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความสูญเสียด้านทรัพย์สิน และบางครั้งอาจมีการสูญเสียชีวิตร่วมด้วย ดังนั้นการป้องกันไฟไหม้จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ได้แก่

           1. ห้ามสอนเด็กเล็กเล่นไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค เก็บสิ่งของที่ติดไฟได้ให้พ้นมือเด็ก ส่วนเด็กโตสอนถึงอันตรายของไฟและให้รู้วิธีการจุดไม้ขีดไฟ ไฟแช็คที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการนำไปจุดเองแล้วตกใจหรือพลาดพลั้ง ทำให้ลวกมือหรือหน้า และอาจทำให้ไม้ขีดไฟตกพื้นและลามไปทั่วจนเกิดไฟไหม้

          2. อย่าให้เด็กเล่นวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิดทั้งหลาย   เช่น น้ำมันเครื่อง  น้ำมันเบรก น้ำมันก๊าด สเปรย์กระป๋อง และดอกไม้ไฟ ประทัด เม็ดมะยม

          3. หมั่นตรวจสอบสายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน เพราะสายไฟเก่า ถลอก หรือการใช้ปลั๊กไฟ

 1 ตัว กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัว การใช้ไฟเกินขนาดเป็นเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร

           4. ก่อนเข้านอนหรือก่อนออกจากบ้าน ต้องตรวจให้แน่ใจว่าไม่ได้ จุดธูปจุดเทียน เปิดแก๊ส เปิดเตาไฟฟ้า เสียบปลั๊ก (โดยเฉพาะปลั๊กเตารีด) ทิ้งค้างไว้

           5. ดับก้นบุหรี่ให้สนิท ดับเตาไฟอาหารเมื่อเลิกใช้

           6. เสื้อผ้าเก่า หนังสือพิมพ์ นิตยสารเก่า ๆ ใบไม้แห้งที่ร่วงเกลื่อนสนาม ล้วนแต่เป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้ง่ายทั้งสิ้น ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้แล้วควรกำจัดออกจากบ้านเรือน

           7. อย่าทิ้งเด็กให้อยู่บ้านตามลำพัง เสื้อนอนของเด็กเลือกแบบไม่ติดไฟง่าย

           8. ติดตั้งอุปกรณ์ดับไฟ (เครื่องดับเพลิง) ที่ได้มาตรฐาน        ศึกษาวิธีการใช้เครื่องดับเพลิงอย่างละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

           9. “เหล็กดัดตามประตูหน้าต่างไม่ควรใช้แบบติดถาวร  ควรเปิดปิดได้ด้วยกุญแจ ลูกกุญแจนั้นต้องเก็บไว้ ที่ทุกคนหยิบได้ทันทีที่มีเหตุฉุกเฉิน

           10. จดเบอร์โทรศัพท์ของสถานีดับเพลิงเทศบาลตำบลอุบล  0456-281917  หรือ 191 เพื่อแจ้งเหตุไฟไหม้