วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



อัคคีภัย หรือ ไฟไหม้ เกิดได้ทุกที่ ไม่ว่าบ้านพักอาศัย โรงงานและสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความสูญเสียด้านทรัพย์สิน และบางครั้งอาจมีการสูญเสียชีวิตร่วมด้วย ดังนั้นการป้องกันไฟไหม้จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ได้แก่

           1. ห้ามสอนเด็กเล็กเล่นไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค เก็บสิ่งของที่ติดไฟได้ให้พ้นมือเด็ก ส่วนเด็กโตสอนถึงอันตรายของไฟและให้รู้วิธีการจุดไม้ขีดไฟ ไฟแช็คที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการนำไปจุดเองแล้วตกใจหรือพลาดพลั้ง ทำให้ลวกมือหรือหน้า และอาจทำให้ไม้ขีดไฟตกพื้นและลามไปทั่วจนเกิดไฟไหม้

          2. อย่าให้เด็กเล่นวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิดทั้งหลาย   เช่น น้ำมันเครื่อง  น้ำมันเบรก น้ำมันก๊าด สเปรย์กระป๋อง และดอกไม้ไฟ ประทัด เม็ดมะยม

          3. หมั่นตรวจสอบสายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน เพราะสายไฟเก่า ถลอก หรือการใช้ปลั๊กไฟ

 1 ตัว กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัว การใช้ไฟเกินขนาดเป็นเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร

           4. ก่อนเข้านอนหรือก่อนออกจากบ้าน ต้องตรวจให้แน่ใจว่าไม่ได้ จุดธูปจุดเทียน เปิดแก๊ส เปิดเตาไฟฟ้า เสียบปลั๊ก (โดยเฉพาะปลั๊กเตารีด) ทิ้งค้างไว้

           5. ดับก้นบุหรี่ให้สนิท ดับเตาไฟอาหารเมื่อเลิกใช้

           6. เสื้อผ้าเก่า หนังสือพิมพ์ นิตยสารเก่า ๆ ใบไม้แห้งที่ร่วงเกลื่อนสนาม ล้วนแต่เป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้ง่ายทั้งสิ้น ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้แล้วควรกำจัดออกจากบ้านเรือน

           7. อย่าทิ้งเด็กให้อยู่บ้านตามลำพัง เสื้อนอนของเด็กเลือกแบบไม่ติดไฟง่าย

           8. ติดตั้งอุปกรณ์ดับไฟ (เครื่องดับเพลิง) ที่ได้มาตรฐาน        ศึกษาวิธีการใช้เครื่องดับเพลิงอย่างละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

           9. “เหล็กดัดตามประตูหน้าต่างไม่ควรใช้แบบติดถาวร  ควรเปิดปิดได้ด้วยกุญแจ ลูกกุญแจนั้นต้องเก็บไว้ ที่ทุกคนหยิบได้ทันทีที่มีเหตุฉุกเฉิน

           10. จดเบอร์โทรศัพท์ของสถานีดับเพลิงเทศบาลตำบลอุบล  0456-281917  หรือ 191 เพื่อแจ้งเหตุไฟไหม้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น